วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เรียนครั้งที่ 4 เทคโนโลยีสำนักงาน

เรื่อง เทคโนโลยีสำนักงาน
        
 การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคเครื่องจักรของงานสำนักงาน

     - เครื่องพิมพ์ดีด
     - เครื่องพิมพ์ดีดอัตโนมัติ
     - MT/ST(Magnetic
Tape/Selectric Type Writer) และ MC/ST(Magnetic Card/Selectric Type Writer)
  
  - เครื่องประมวลผลคำ (Word processing)

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (COMPUTER TECHNOLOGY)

     - ปี 1940 คอมพิวเตอร์ถูกใช้ทางวิชาการและทางทหาร
     - ปี 1954 นำ computer มาใช้ในธุรกิจเป็นเครื่องแรก (UNIVAC)
     - เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ต่อธุรกิจได้จำกัดอยู่เฉพาะการประมวลผลข้อมูล
     - ขยายไปสู่การปฏิบัติสำนักงานอื่น ๆ รวมทั้งการประมวลผลคำและการสื่อสาร

    
     คอมพิวเตอร์ คืออะไร

     คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับข้อมูลและคำสั่งแล้วนำไปประมวลผล
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

        
 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

     - หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
     - หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit: CPU)
     - หน่วยแสดงผล (Output Unit)
     - หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage Unit)

      
   เทคโนโลยีการสื่อสาร (COMMUNICATION TECHNOLOGY)
    
     - Telegraph (โทรเลข)
     - Telephone (โทรศัพท์)
     - Dictation Equipment (เครื่องบันทึกตามคำบอก)
     - Facsimile Teletype Writer
     - Electronic Mail

CONSUMER ELECTRONICS

     สารสนเทศทุกรูปแบบ ข้อมูล ภาพ เสียง วิดีโอ จะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอลที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและจัดการได้ ผลที่สุดคือ เครื่องมือชิ้นใหม่ที่มีความสามารถและมีประสิทธิภาพมากสำหรับ electronic home และ electronic office

Case : TRUE "ยิ่งรวมกัน ยิ่งดีขึ้น"

     - True Visions (สีชมพู่)
     - True Move (สีเหลือง)
     - True Life (สีเขียวตอง)
     - True Money (สีส้ม)
     - True Online (สีฟ้า)
     - True Corporate Advertising
  
ผู้นำ Convergence เจ้าแรก
        
 การติดต่อสื่อสารในสำนักงาน

  - การติดต่อสื่อสารเป็นกระบวนการในการส่งหรือสื่อและแสดงข้อความทั้งที่เป็นคำพูดและแบบไม่ใช่คำพูด
  
  - ผู้บริหารสำนักงานควรให้ความสำคัญกับการติดต่อสื่อสารที่มีผลกระทบโดยตรงต่อตัวบุคคลและระบบเครือข่ายอย่างมาก

  
กระบวนการติดต่อสื่อสาร

     - ผู้ส่ง (Sender) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ
เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล ข้อความและเสียง เป็นต้น
     - การใส่รหัส (Encode) เป็นการเรียบเรียงจัดการในรูปแบบของสัญลักษณ์ (เช่น คำพูด ตัวเลข เป็นต้น)
เพื่อแปลงสภาพส่งต่อไปยังผู้รับ โดยผ่านสื่อต่าง ๆ เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสาร
เช่น สายโทรศัพท์ สัญญาณทีวี สายไฟเบอร์ออฟติก หรือแม้แต่คลื่นทางอากาศ (Air Wave)
เป็นต้น
     - ผู้รับ (Receiver) หน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ และพิจารณาข่าวสารโดยการถอดรหัส

        
 กระบวนการติดต่อสื่อสาร

     - การถอดรหัส (Decode) เป็นการแปลงหรือถอดความข่าวสารจากความคิดของผู้ส่งมายังความคิดของผู้รับ ช่วงการส่งผ่านเพื่อสื่อสารจากผู้ส่งจนมาถึงผู้รับ เรียกว่า Transmission ส่วนช่วงส่งข้อมูลสื่อสารกลับให้ทราบเรียกว่า Feedback
     - เสียงรบกวน (Noise) อุปสรรคที่ทำให้การติดต่อสื่อสารไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และขาดประสิทธิผลเท่าที่ควร

  
ประเภทการติดต่อสื่อสาร

แบ่งตามโครงสร้างองค์การ

     - Downward เป็นการติดต่อสื่อสารจากระดับบนสู่ระดับล่าง ข่าวสารจะมีทิศทางตรงสู่ผู้รับซึ่งอาจมีจำนวนมากกว่า 1 คนก็ได้
     - Upward เป็นการติดต่อสื่อสารจากระดับล่างสู่ระดับบนตามสายการบังคับบัญชา
     - Lateral เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับในระดับเดียวกันตามสายงาน

      
ประเภทการติดต่อสื่อสาร

แบ่งตามเป้าหมายในการติดต่อสื่อสาร


     - Internal เป็นการติดต่อสื่อสารภายในองค์การ ซึ่งใช้สื่อภายในสำนักงานสมัยใหม่ประเภทต่างๆ
     - External เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและสาธาณชน ต้องมีการติดต่อสื่อสารภายนอก
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่ช่วยให้การสื่อสารกับภายนอกทำให้สะดวก รวดเร็ว และดียิ่งขึ้น

ประเภทการติดต่อสื่อสาร
แบ่งตามรูปแบบ


     - Verbal เป็นการติดต่อสื่อสารประกอบด้วยคำไม่ว่าจะเป็นการเขียนหรือพูด
     - Nonverbal เป็นการติดต่อสื่อสารซึ่งไม่ได้ใช้การพูดหรือเขียน แต่มาจากท่าทาง ทัศนคติ และอารมณ์ ความรู้สึกหรือแม้แต่กิริยาอาการสัมผัส

        
 ประเภทการติดต่อสื่อสาร
แบ่งตามลักษณะการติดต่อสื่อสาร


     - Formal เป็นการติดต่อสื่อสารแบบเป็นทางการ มีลายลักษณ์อักษร หรือสื่อด้วยคำพูดข้อความตามรายงานอย่างชัดเจน
     - Informal เป็นการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ เกิดขึ้นตามสถานการณ์ทั่วไป หรือสถานการณ์ในสภาวะส่วนตัว

        
 สาเหตุของปัญหาอุปสรรคในการติดต่อสื่อสารจากมนุษย์
    
- การรับรู้แตกต่างกัน (Perception) เพราะพื้นฐานการเรียนรู้ การศึกษาประสบการณ์ และประวัติของแต่ละคน มีความแตกต่างกัน
- รูปแบบแตกต่างกัน (Style)    
- สถานภาพแตกต่าง (Status)
- วัฒนธรรม ภาษา มาตรฐาน และพฤติกรรมแตกต่าง
- ความคิดเห็นแตกต่าง
- ความรู้ความชำนาญและความสามารถแตกต่าง
- ปัจจัยอื่นๆ เช่น อารมณ์ (Mood) ทัศนคติ (Attitude) วุฒิภาวะ (Maturity) เป็นต้น

        
 อุปสรรคจากองค์การและสื่อ

     - บรรยากาศและสภาพแวดล้อมในสำนักงาน
     - สื่อในการติดต่อสื่อสาร
     - เวลา บางครั้งมีแรงกดดันจากเวลาในการติดต่อสื่อสารจากทั้งผู้ส่งและผู้รับ
     - ระยะทาง มีผลต่อการสื่อสารแบบดั้งเดิม

        
 เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร

     - ความสามารถในการสร้าง เก็บ ปฏิบัติการ และสื่อสาร ทุกรูปแบบของข้อมูลในลักษณะของ Digital
มีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
     - ความเร็วที่เพิ่้มขึ้นจากระบบเทคโนโลยี
     - เทคโนโลยีใหม่มีขนาดและต้นทุนที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
        
 คุณลักษณะของเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร

     - เวลาและสถานที่ (Time and Place)
     - กิจกรรมร่วมกัน (Interactivity)
     - หลักการ One-to-One, One-to-Many หรือ Many-to-Many
     - คนหรือหัวข้อเรื่อง (Person or Subject)

        
 ปัจจัยการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้องและเหมาะสม
     - Message    
     - Audlence
     - Context
     - Time
     - Cost and Profit

  
       ผลกระทบของเทคโนโลยีในสำนักงาน

     - ผลิตภาพและการจ้างงาน
     - การกระจายและการรวมงาน
     - ความได้เปรียบเชิงแข่งขันและความเสี่ยง
     - ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบต่อเวลา
     - ความปลอดภัยและความส่วนตัว
     - ความชำนาญงานที่ต้องการ

        
 ระบบเครือข่้ายเทคโนโลยีในสำนักงาน

        
 ระบบเครือข่ายในทางคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีข้อมูล หมายถึง
การสื่อสารข้อมูลหรือสารสนเทศระหว่างคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการใช้งานอยู่ในที่ต่าง ๆ กัน
เช่น ในสำนักงาน ระหว่างองค์การในประเทศหรือระหว่างองค์การที่อยู่คนละประเทศ
  
            - เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)
            - อินทราเน็ต (Intranet)
            - เอ๊กซ์ทราเน็ต (Extranet)

        
 ประโยชน์ของอินทราเน็ต

     - พัฒนาด้านข้อมูลข่าวสาร ให้มีความทันสมัย สะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอน ประหยัด
     - ลดต้นทุนในการบริหารข้อมูลข่าวสาร
     - ใช้เทคโนโลยีแบบเปิด เป็นประโยชน์ในการกระจายความเสี่ยงจากการทำธุรกรรมร่วมกัน
     - มีความพร้อมในการเชื่อมโยงระบบอินเทอร์เน็ต

เอ๊กซ์ทราเน็ต (Extranet)

     ลักษณะของการเชื่่่อมต่อ 2 ประเภท
        - การเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Link) เป็นการเชื่อมต่อระหว่างจุด 2 จุด
        - การเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) เป็นการเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายอินทราเน็ตจำนวนหลายๆ เครือข่ายและสามารถเชื่อมผ่านอินเทอร์เน็ตได้ด้วยเช่นกัน

        
 ระบบการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตามระยะทาง

     - ระบบเครือข่ายระยะใกล้ (Local Area Network: LAN)
     - ระบบเครือข่ายระยะกลาง (Metropolitan Area Network:MAN)
     - ระบบเครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network:WAN)

ลักษณะการติดต่อสื่อสารในสำนักงาน
     - การส่งข้อมูล (Data Sending)
     - การนัดหมาย (Appointment)
     - การประชุม (Meeting or Conference)
     - การนำเสนอ (Presentation)      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Missing You Blogger Template